วิธีการเคลื่อนย้ายผู้สูงอายุ
วิธีการเคลื่อนย้ายผู้สูงอายุอย่างปลอดภัย
1. ประเมินสภาพผู้สูงอายุ
ตรวจสอบว่าผู้สูงอายุมีสภาพร่างกายแข็งแรงเพียงพอที่จะเคลื่อนย้ายด้วยตัวเองหรือไม่
ประเมินระดับความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุ เช่น ผู้สูงอายุมีโรคประจำตัว สูญเสียการทรงตัว หรือเคยล้มมาก่อนหรือไม่สอบถามผู้สูงอายุเกี่ยวกับความรู้สึก เจ็บปวด หรืออึดอัดหรืออาการมึนงงศีรษะเวลาเปลี่ยนอริยบทหรือไม่
2. เตรียมอุปกรณ์
อุปกรณ์ช่วยพยุง เช่น ไม้เท้า วอล์คเกอร์4 ขา หรือรถเข็น ผ้าห่มหรือผ้าปูที่นอนสำหรับรองรับ
พื้นที่ปลอดภัยสำหรับเคลื่อนย้าย เข็มขัดผ้าสำหรับรัดเอว หรือผ้าขาวม้า
3. สื่อสารกับผู้สูงอายุ
อธิบายขั้นตอนการเคลื่อนย้ายอย่างชัดเจน บอกผู้สูงอายุว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป สร้างความมั่นใจให้ผู้สูงอายุรู้สึกผ่อนคลาย
4. เทคนิคการเคลื่อนย้าย
คาดเข็มขัดหรือคาดผ้าขาวม้ารอบเอวผู้สูงอายุ ย่อตัวลงให้ระดับเดียวกับผู้สูงอายุ ใช้กล้ามเนื้อขาแทนการใช้กล้ามเนื้อหลังจับผู้สูงอายุในตำแหน่งเข็มขัดหรือผ้าขาวม้า ยึดให้แน่น และใช้อีกมือประคองผู้สูงอายุเคลื่อนย้ายผู้สูงอายุอย่างช้าๆ และระมัดระวัง หลีกเลี่ยงการบิดตัวหรือก้มตัว
5. ตัวอย่างวิธีการเคลื่อนย้าย
การช่วยผู้สูงอายุนั่งจากเตียง:
ยืนข้างเตียง จับมือผู้สูงอายุ ช่วยให้ผู้สูงอายุนั่งพิงหัวเตียง โน้มตัวไปข้างหน้า งอเข่า ดันผู้สูงอายุขึ้นให้นั่งบนเตียง จัดท่านั่งให้สบาย
การช่วยผู้สูงอายุยืนจากเก้าอี้: ยืนข้างเก้าอี้ จับมือผู้สูงอายุ ช่วยให้ผู้สูงอายุยืนขึ้น ประคองผู้สูงอายุให้ยืนทรงตัว นำไม้เท้าหรือวอล์คเกอร์มาให้ผู้สูงอายุจับ
การช่วยผู้สูงอายุเดิน:
ยืนข้างผู้สูงอายุ จับเข็มขัดหรือผ้าขาวม้า และอีกมือประคองลำตัวผู้สูงอายุ
เดินช้าๆ ควบคู่ไปกับผู้สูงอายุและซักถามว่ามีอาการเวียนศีรษะ หน้ามืด ใจสั่น หรือไม่
สังเกตุผู้สูงอายุอย่างใกล้ชิด
6. ขอความช่วยเหลือ
หากผู้สูงอายุมีน้ำหนักตัวมาก หรือมีสภาพร่างกายที่อ่อนแอ ควรใช้ผู้ชวยเดิน 2 คน
การใช้เครื่องช่วยยกผู้ป่วย (Patient Lift) ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง
ข้อควรระวัง
หลีกเลี่ยงการดึงหรือกระชากผู้สูงอายุ ไม่ควรยกผู้สูงอายุจากด้านหลัง ระวังการลื่นไถล
สวมรองเท้าที่พื้นรองเท้ามีแรงยึดเกาะดี